วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายวิชากลยุทธ์การจัดการเรียนรู้

แบบประมวลรายวิชา (Course Syllabus)


ภาคต้นและภาคปลาย ปีการศึกษา 2553

ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน





1.คณะ ศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ ภาควิชา ครุศึกษา

2.รหัสวิชา 02198321 ชื่อวิชา ภาษาไทย กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้

จำนวน 3 (2 - 2) หน่วยกิต ภาษาอังกฤษ Strategies of Learning Management

3.คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

...ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ กลยุทธ์ในการออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การประเมินการเรียนรู้ที่คาดหวัง การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

Theories and concepts of learning management. Strategies of design and management of learning experiences at basic education level. Assessment of expected learning outcomes. Practicum on learning management skills in classroom.



4.วัตถุประสงค์ของวิชา

....4.1 อธิบายหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ได้

....4.2 ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐานได้

....4.3 สรุปสาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระ การเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้

....4.4 สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้

....4.5 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้นได้

....4.6 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรและสร้างหน่วยการเรียนรู้ได้

....4.7 สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนได้

....4.8 จัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและ

บูรณาการคุณธรรมจริยธรรม หลักการประชาธิปไตยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ได้

....4.9 ใช้ทักษะพื้นฐานในการสอน ใช้ระบบ รูปแบบ วิธีการและเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ ในชั้นเรียนได้

....4.10 สามารถนำประมวลรายวิชามาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายภาคและตลอดภาคได้

....4.11 สามารถเลือกใช้ พัฒนาและสร้างสื่อ อุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้

....4.12 วัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ได้

....4.12 สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและจำแนกระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน จากการประเมินผลได้



5.หัวข้อวิชา (Course Outline)

....5.1 ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้

....5.2 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน

....5.3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

....5.4 พระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545

....5.5 การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้น

....5.6 การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรและ Backward Design กับการสร้างหน่วยการเรียนรู้

....5.7 การจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดการบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม หลักการประชาธิปไตยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้

....5.8 ทักษะพื้นฐานในการสอน ระบบ รูปแบบการเรียนรู้ วิธีการและเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

....5.9 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

....5.10 Backward Design กับการออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

....5.11 การใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้

....5.12 การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้และการบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม

....5.13 Backward Design กับการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

....5.14 การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน



6.กระบวนการจัดการเรียนรู้

....กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย : บรรยาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ ระดมสมอง อภิปราย สรุป ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานกลุ่มและงานรายบุคคล การฝึกปฏิบัติ การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน



7.สื่อและแหล่งเรียนรู้

....7.1 เอกสารประกอบการสอนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

....7.2 แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

....7.3 ppt.

....7.4 Website ต่าง ๆ

....7.5 สถาบันที่ใช้ในการฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน



8. การวัดผลการเรียนรู้

....การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ 10 %

....งานรายบุคคล 30 %

....งานกลุ่ม 20 %

....การสอบกลางภาค 20 %

....การสอบปลายภาค 20 %

9.การประเมินผลการเรียนรู้

เกณฑ์การให้ระดับคะแนน

80 คะแนนขึ้นไป ได้ระดับคะแนน A หรือ 4.0

75-79 คะแนน ได้ระดับคะแนน B+ หรือ 3.5

70-74 คะแนน ได้ระดับคะแนน B หรือ 3.0

65-69 คะแนน ได้ระดับคะแนน C+ หรือ 2.5

60-64 คะแนน ได้ระดับคะแนน C หรือ 2.0

55-59 คะแนน ได้ระดับคะแนน D+ หรือ 1.5

50-54 คะแนน ได้ระดับคะแนน D หรือ 1.0



10.การให้โอกาสนอกเวลาเรียนแก่นิสิตเข้าพบและให้คำแนะนำในด้านการเรียน

ทุกวันในเวลาราชการที่สำนักงานภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์



โทร. 034 - 351898 ต่อ 406 / 081 - 8493302

e - mail : fedusrx@ku.ac.th และ surinxoomsai@hotmail.com

11.ตารางกิจกรรมการเรียนรู้





สัปดาห์ที่ เนื้อหา กิจกรรม



1 ปฐมนิเทศ



ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้



1.แนะนำ Course Syllabus



แนะนำรายวิชา วิธีเรียน การวัดผลและประเมินผล



2.บรรยายทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้



3.สะท้อนความคิดและอภิปราย



4.สรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้



5.อภิปรายการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้



2 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน



1.วิเคราะห์ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน



2.สังเคราะห์ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน



3.อภิปรายสรุปการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน



4.ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน



3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน



1.สรุปสาระสำคัญหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน



2.สะท้อนความคิดและอภิปรายสรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน



3.อภิปรายการประยุกต์ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน



4 พระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545















1.สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545



2.สะท้อนความคิดและอภิปรายสรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545



3.อภิปรายการประยุกต์ใช้พระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545



5 1.การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้น



2.การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตร



3.การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้และการบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม



4. Backward Design กับการสร้างหน่วยการเรียนรู้ 1.วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้นและสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร



2.สะท้อนความคิดและอภิปรายสรุปการบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้และการบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม



3.บรรยายหลักการของ Backward Designกับการสร้างหน่วยการเรียนรู้



4.สะท้อนความคิดและอภิปรายสรุปความคิดรวบยอดหลักการของ Backward Designกับการสร้างหน่วยการเรียนรู้



5.อภิปรายการประยุกต์ใช้หลักการของ Backward Designกับการสร้างหน่วยการเรียนรู้



6 1.การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้น



2.การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตร



3.Backward Design กับการสร้างหน่วยการเรียนรู้ 1.ฝึกปฏิบัติสร้างหน่วยการเรียนรู้



7 Backward Design กับการออกแบบการเรียนรู้ 1.บรรยายหลักการของ Backward Design



กับการออกแบบการเรียนรู้



2.สะท้อนความคิดและสรุปความคิดรวบยอด



3.อภิปรายการประยุกต์ใช้ความรู้



4.ฝึกปฏิบัติออกแบบการเรียนรู้



8 1.การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวน



การคิด



2.การบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม หลักการประชาธิปไตยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ 1.วิเคราะห์หลักการการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด การบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม หลักการประชาธิปไตยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้



2.สังเคราะห์หลักการการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดการบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม หลักการประชาธิปไตยและ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้



3.สะท้อนความคิดและสรุปความคิดรวบยอด



4.ประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด การบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม หลักการประชาธิปไตยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้



9 สอบกลางภาค ทำแบบทดสอบ



10 ทักษะพื้นฐานในการสอน ระบบ รูปแบบ วิธีการและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ใน



ชั้นเรียน 1.วิเคราะห์หลักการของทักษะพื้นฐานใน การสอน ระบบ รูปแบบ วิธีการและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน



2.สังเคราะห์ทักษะพื้นฐานในการสอน ระบบ รูปแบบ วิธีการและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน



3.สะท้อนความคิดและสรุปความคิดรวบยอด



4.ประยุกต์ใช้ทักษะพื้นฐานในการสอน ระบบ รูปแบบ วิธีการและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน



11 Backward Design กับการออกแบบการจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 1.บรรยายหลักการของ Backward Design



กับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน



2.สะท้อนความคิดและสรุปความคิดรวบยอด



3.ฝึกปฏิบัติการออกแบบ/เขียนแผนการจัดการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน



12 การใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้ 1.อภิปรายการใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้



2.สะท้อนความคิดและสรุปความคิดรวบยอด



3.ฝึกปฏิบัติการใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้



13 Backward Design กับการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ 1.บรรยายหลักการของ Backward Design



กับการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้



2.สะท้อนความคิดและสรุปหลักการและสาระสำคัญการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้



3.ประยุกต์ใช้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้



14 การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ฝึกปฏิบัติการฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน



15 การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ฝึกปฏิบัติการฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน



16 สอบปลายภาค ทำแบบทดสอบ







หมายเหตุ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สามารถปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม



และสถานการณ์โดยพิจารณาจากพื้นฐาน วิธีการเรียนรู้และศักยภาพของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม











12.เอกสารอ่านประกอบ



กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.

........กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

........กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ,กรมวิชาการ.(2539). การประเมินผลจากสภาพจริง (Authentic Assessment).

........กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมวิชาการ และคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด

: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ. (2544). กลวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิธี

การเรียน (Learning Styles).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.



_______.(2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.



กาญจนา คุณารักษ์.(2545). การออกแบบการสอน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.



คณะกรรมาธิการนานานชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21.(2541). การเรียนรู้ : ขุมทรัพย์ในตน.



กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.



คณะอนุกรรมการการปฏิรูปการเรียนรู้.(2543).ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.



จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช และคณะ. (2536). ประมวลบทความ หลักสูตร : สาระร่วมสมัย. กรุงเทพฯ :



สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์.(2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์



อลีนเพลส.



ดารณี ภุมวรรณ (ผู้แปล).(2547). กลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.



ถวัลย์ มาศจรัสและเชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์. (2547).นวัตกรรมการศึกษาชุด การนิเทศเพื่อปฏิรูป



การศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ธารอักษร จำกัด.



ทิศนา แขมมณี. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). กระบวนการเรียนรู้ ความหมาย แนวทางการพัฒนาและ ปัญหาข้องใจ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.



ทิศนา แขมมณี.(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ). การเรียนการสอนโดยยึดเด็กเป็นสำคัญ โมเดลซิปปา



(CIPPA MODEL). เอกสารอัดสำเนา.



ทิศนา แขมมณี.(2547).14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



ทิศนา แขมมณี.(2551).ลีลาการเรียนรู้ - ลีลาการสอน.กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสาร



ทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



ทิศนา แขมมณีและคณะ.(2540).ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด.กรุงเทพฯ :



ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอเดียสแควร์.



ทิศนา แขมมณี.(2544).วิทยาการด้านการคิด.กรุงเทพฯ : บริษัท เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป



แมเนจเม้นท์ จำกัด.



ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี



ประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



ธีระ รุญเจริญ.(2525) การเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา.กรุงเทพมหานคร : บริษัท



สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.



ธำรง บัวศรี.(2523). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.



นาตยา ปิลันธนานนท์. (2545). จากมาตรฐานสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.



นาตยา ปิลันธนานนท์.(2542) การศึกษาตามมาตรฐาน : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :



สำนักพิมพ์แม็ค.



__________. (2545). จากมาตรฐานสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.



__________. (2546). จากหลักสูตรสู่หน่วยการเรียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.



วิชัย ดิสสระ. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ต้นอ้อ แกรมมี่.







วิชัย วงษ์ใหญ่.(2525). พัฒนาหลักสูตรและการสอนมิติใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธเนศวร



การพิมพ์.



__________. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ



: สุวีรยาสาส์น.



__________. (2532). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.







__________.(2539).กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ.กรุงเทพฯ



: สุวีรยาสาส์น.



สุรางค์ โค้วตระกูล.(2545).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์



มหาวิทยาลัย.



สุชาดา นันทะไชย.(2547).จริยธรรมและจรรยาสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร :



มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.



สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา,กระทรวงศึกษาธิการ.( 2546 ). คู่มือการบริหารสถานศึกษา



ขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์



(ร.ส.พ.).



สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2544). แผนพัฒนาการ



ศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.



สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี.(2545). พระราชบัญญัติการ



ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.



กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.



สงัด อุทรานันท์. (2530). ทฤษฎีหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสยาม.



__________.(2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสยาม.



__________. (2532).การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ : คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



สุเทพ อ่วมเจริญ.(2548).การออกแบบการสอน.นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร.



สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.(2552).การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา



ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต



พระราชวังสนามจันทร์.



อารี สัณหฉวี.(2552).พหุปัญญาประยุกต์.กรุงเทพฯ : สมาคมเพื่อการศึกษาเด็กสาขา การศึกษา



ปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ (มศว. ประสานมิตร).



วารสารทางการศึกษาต่างๆ เช่น ครุปริทัศน์ ครุศาสตร์ สานปฏิรูป ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ มิตรครู วิชาการ เป็นต้น



Bigge, M.L.(1982). Learning theories for teachers. 4thed. New York ; Harper & Row, Publishers.







Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of educational objectives. Handbook II : Affective domain.



New York : Mckay.







Brady Laurie and Kennedk Kerry. (2001). Curriculum Construction. NSW : Pearson Education Australia.



__________. (2003) .Curriculum Construction. 2nded . NSW : Pearson Education Australia.



Fogarty, Robin. (1993) .Integrating the Curricula : A Collection. Lllinois : Skylight Publishing.



Gagne, R.M. & Briggs, L. (1974) Principles of instructional design. New York : Holt, Rinehart and



Winston, Inc.



Joyce, B & Weil, M & Shawers, B. (1992).Models of teaching. 4thed . Boston : Allyn and Bacon.



Joyce, Bruce. (1986). Models of Teaching. New Jersey : Prentice- Hill International Inc.



Kelly, A.V. ( 1986). Knowledge and Curriculum Planning. London : Harper & Row Ltd.



Kemp, J.E. (1977)..Instructional design : A plan for unity and couse development. California : Fearon-Pittman Publishers, Inc.



Ornstein Allan C. and Hunkins Francis. (1993) Curriculum Foundations, Principles,



and Theory. 2nd U.S.A. : Library of Congress.



Print, Murray. (1993). Curriculum Development and Design. 2nd Sydney : Allen & Unwin.



Rowtree, Derek. (1982). Educational Technology in Curriculum Development. New York :



Harper & Row Publishing.



Slavin, R.E. (1995). Cooperative learning 2nded. London : Allyn and Bacon.



Sowell, Evelyn J. (2005). Curriculum And Integrative Introduction. 3rd ed. New York : Library



of Congress.



Wagman, Ellen.(1981) . Teacher Training Manual. Santa Cruz Cal : Net Work Publications.



Walberg, Herbert J. (1992). Teaching for Thinking. Reston, Va : NASSP.



Wiggins,G. and McTighe,J. (1998). Understanding by Design. Alexandria,VA : Association



for Supervision and Curriculum Development.



13.งานที่มอบหมาย



งานกลุ่ม



1.การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้นและสาระการเรียนรู้



ในหลักสูตร



2.การนำประมวลรายวิชามาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายภาคและตลอดภาค



3.การจัดทำหน่วยการเรียนรู้







งานรายบุคคล



1.การออกแบบการจัดการเรียนรู้/การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้



2.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน



3.การใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้



4.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้



14.ผู้สอน



อาจารย์ ดร. สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา โทร. 034 - 351898 ต่อ 406 และ 081 - 8493302



e - mail : fedusrx@ku.ac.th และ surinxoomsai@hotmail.com







15.การทบทวนเพื่อปรับปรุงวิธีการและระบบการสอน



..........ไม่แก้ไขปรับปรุง เนื่องจากเริ่มเปิดการเรียนการสอนเป็นครั้งแรก



..........แก้ไขปรับปรุง



16.การปรับปรุงการสอนจากผลการประเมินการสอน



...........ไม่มีผลการประเมินการสอนเพราะเริ่มเปิดสอนเป็นครั้งแรก



...........มีการประเมินผลการสอน



......... มีการปรับปรุงดังนี้ มีการปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่



..........ไม่มีการปรับปรุง







ลงนาม .................................................ผู้รายงาน



(อาจารย์ ดร. สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา)



วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น